< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส การวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียสำหรับผู้เริ่มต้น

โมดูลที่ 1 - Module 1 : พื้นฐาน

บทเรียนที่ 2 - ตัวอย่างโครงการวิเคราะห์ข้อมูล


ช่วงปลายปี 2020 โควิดเริ่มระบาดไปทั่วโลก ในประเทศไทย ข่าวและสังคมเชื่อว่าแรงงานพม่าเป็นคนกลุ่มแรกที่นำเชื้อโควิดเข้าสู่ประเทศไทย จึงเริ่มเกิดข้อความแสดงความเกลียดชัง หรือ Hate speech ขึ้นในโซเชียลมีเดีย

ภาคประชาชนหลายองค์กรในขณะนั้น มีความกังวลว่าสถานการณ์นี้จะนำไปสู่ความรุนแรงบนพื้นฐานของเชื้อชาติแบบเหมารวม จึงเริ่มเก็บข้อมูลจำนวนข้อความแสดงความเกลียดชังบนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter, Youtube พบว่ามีแนวโน้มมากขึ้นตามสมมุติฐาน

จากนั้น ทีมงานโครงการได้มีโอกาสนำข้อมูลนี้ไปหารือกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ของรัฐบาล ทำให้โฆษก ศบค. กล่าวแสดงความกังวลเรื่องนี้ในระหว่างการแถลงสถานการณ์ประจำวัน

หลังจากนั้น โครงการได้เก็บข้อมูลต่อเนื่อง พบว่าหลังการแถลงข่าว ถึงแม้จะยังมีการเพิ่มขึ้นของ Hate speech ขึ้นบ้างตามกระแสสังคม แต่ก็มีการเพิ่มขึ้นของข้อความที่มีเนื้อหาเป็นมิตร ที่เรีบกว่า Peace speech ในอัตราที่รวดเร็วกว่า Hate speech

โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่าง ว่าการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียจะสามารถช่วยป้องกันปัญหาในสังคมไม่ให้ลุกลามได้

ภาพประกอบบทเรียน

สารบัญ

การวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียสำหรับผู้เริ่มต้น Module 1 : พื้นฐาน ขั้นตอนการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดีย ตัวอย่างโครงการวิเคราะห์ข้อมูล Module 2 : รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดเป้าหมายการวิเคราะห์ (Goal setting) เก็บข้อมูล (Data collection) เครื่องมือเก็บข้อมูล (Data collection tools) ทางเลือกอื่นในการเก็บข้อมูล (Alternative methods to collect data) วิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) ดำเนินการตามผลการวิเคราะห์ (Taking actions) Module 3 : เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล เทคนิคการเรียงลำดับข้อมูลแบบพื้นฐาน (Basic sorting) เทคนิคการเรียงลำดับข้อมูลแบบกำหนดเอง (Custom sorting) เทคนิคการติดป้ายคำให้ข้อมูล (Data labelling) หากข้อมูลมีจำนวนมาก อ่านไม่ไหว จะทำอย่างไร? เทคนิคการรวมกลุ่มแล้วนับข้อความในกลุ่ม (Data grouping and counting, or pivot table)