< กลับหน้าหลัก

การกลั่นแกล้งรังแก (Bullying)


ประเทศไทยมีอัตราการแกล้งกันในเด็กและวัยรุ่นสูงเป็นอันดับสองของโลก รองลงมาจากญี่ปุ่น การแกล้งกันนั้นเกิดขึ้นเป็นประจำทั้งในและนอกโรงเรียน ทั้งในพื้นที่กายภาพและพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งบ่อยครั้งส่งผลให้เกิดผลกระทบทางลบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่การบาดเจ็บ การไม่อยากไปโรงเรียน การเก็บตัว นอนไม่หลับ ไปจนถึงการคิดและพยายามฆ่าตัวตาย

สำหรับครู สิ่งที่จำเป็นคือครูจะต้องมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ตรวจหา และรับมือกับการแกล้งกันของเด็กนักเรียน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือนักเรียนผ่านกลไกและเครื่องมือต่าง ๆ อย่างทันท่วงที โครงการได้พัฒนา หลักสูตรออนไลน์ “การรับมือกับปัญหาการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์” ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ครูได้เรียนรู้ทักษะดังกล่าวได้

ภาพประกอบคอร์ส

เรียนรู้


เกมบูลลี่

คุณครูสามารถนำไปให้นักเรียนเล่นได้เลยจ้า

ใบงานและกิจกรรม

คุณครูสามารถดาวน์โหลดใบงานและกิจกรรมไปใช้ในห้องเรียนได้เลยจ้า

สารบัญ

การกลั่นแกล้งรังแก (Bullying) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกัน ทำไมครูต้องเรียนรู้เรื่องการกลั่นแกล้งกัน ทำไมเด็กไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากครู รู้จักการกลั่นแกล้งกัน การกลั่นแกล้งรังแกกัน คืออะไร การถูกกลั่นแกล้งรังแก ส่งผลอย่างไร รู้ตัวได้อย่างไร ว่าถูกกลั่นแกล้งรังแก รู้ตัวได้อย่างไรว่ากำลังแกล้งคนอื่น การกลั่นแกล้งระรานทางไซเบอร์ (Cyber bullying) รู้จักการกลั่นแกล้งระรานทางไซเบอร์ แนวทางปฏิบัติสำหรับครู ผู้พบเห็นเหตุการณ์ควรทำอย่างไร การตรวจหาการกลั่นแกล้งกัน จุดเริ่มต้นคือการสร้างความรู้สึกไว้วางใจและพึ่งได้ วิธีสังเกตเหตุการณ์กลั่นแกล้ง การเตรียมรับมือ การจัดการและป้องกันการกลั่นแกล้งกัน การตั้งข้อตกลงร่วมกัน วิธีระงับเหตุเมื่อเกิดการแกล้งกัน วิธีช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกลั่นแกล้ง การสื่อสารที่ดีกับนักเรียน การพูดคุยกับผู้ปกครอง เพื่อหาทางร่วมมือกันแก้ไขปัญหา วิธีการและช่องทางการช่วยเหลือในกรณีนักเรียนบาดเจ็บ